หลักสูตรและการเรียนการสอน
Programs & Curriculum

หลักสูตรที่เปิดสอน

ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน มีการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 6 ปี และหลักสูตรระดับหลังปริญญาทางทันตกรรมจัดฟัน 5 หลักสูตร

ระดับปริญญาตรี

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต มีความสามารถดังต่อไปนี้
  1. มีความรู้พื้นฐานทางด้านการเจริญเติบโตของกะโหลกศีรษะ ใบหน้าและขากรรไกร ลักษณะการสบฟันที่ปกติและผิดปกติชนิดต่างๆ ตลอดจนสาเหตุของการสบฟันที่ผิดปกติ
  2. มีความรู้ด้านกลไกการเคลื่อนฟัน เครื่องมือจัดฟันชนิดต่างๆ เช่น เครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้และชนิดติดแน่นและหลักการรักษา ทางทันตกรรมจัดฟันเบื้องต้น
  3. มีความรู้พื้นฐานเรื่องการวิเคราะห์ วินิจฉัย และวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่มีการสบฟันผิดปกติ
  4. สามารถจำแนกผู้ป่วยและส่งต่อให้ทันตแพทย์จัดฟันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย
เนื่องจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการเรียนการสอนและผสมผสาน ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน จะรับผิดชอบรายวิชาที่เกี่ยวข้องทางสาขาทันตกรรมจัดฟัน ได้แก่
1. หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
  • DTID 321 Craniofacial Growth and Development
  • DTOD 321 Fundamental of Orthodontics
  • DTOD 332 Diagnosis and Treatment Planning in Orthodontics
  • DTOD 411 Orthodontic Treatment
  • DTOD 412 Orthodontic Laboratory
  • DTOD 501 Comprehensive Dental Practice: Orthodontics
  • DTOD 669 Seminar in Early Orthodontic Treatment
  • DTOD 361 Practical experiences with 3D printing technologies in digital dentistry
2. หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต(นานาชาติ)
  • DTIS 321 Craniofacial Growth and Development
  • DTIS 410 Fundamental of Orthodontics
  • DTIS 411 Diagnosis and Treatment Planning in Orthodontics
  • DTIS 429 Orthodontic Treatment
  • DTIS 430 Orthodontic Laboratory
  • DTIS 548 Comprehensive Dental Practice: Orthodontics
  • DTIS 725 Seminar in Early Orthodontic Treatment
และรายวิชาที่เป็นโครงการสอนร่วม (Interdisciplinary) คือ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต DTID 321 CRANIOFACIAL GROWTH AND DEVELOPMENT และ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต(นานาชาติ) DTIS 321 CRANIOFACIAL GROWTH AND DEVELOPMENT สำหรับด้านจริยศาสตร์ และจรรยาบรรณ ในวิชาชีพ ภาควิชาฯ ได้สอดแทรกให้กับนักศึกษาในระหว่าง การเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ เช่น การปฏิบัติงานของนักศึกษาในคลินิกทันตกรรมจัดฟัน โดยดูพฤติกรรมที่สังเกตเห็นในด้านต่างๆ เช่น ความรับผิดชอบ มนุษยสัมพันธ์ ความสนใจในการศึกษาใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม และการแก้ปัญหา ซึ่งมีการจัดแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มๆ และ มีอาจารย์ ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดปีการศึกษา
รายละเอียดเพิ่มเติม
ติดต่อ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง นันทินี นันทวณิชย์ แสงไฟ

ระดับหลังปริญญา

มีวัตถุประสงค์เพื่อ
  1. ผลิตนักวิชาการระดับสูง และขยายการผลิตบุคลากรใน สาขาทันตกรรมจัดฟันที่ยังขาดแคลน
  2. ยกระดับคุณวุฒิ และประสิทธิภาพในการสอนของอาจารย์
  3. เพื่อสร้างบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาทาง ทันตกรรมจัดฟัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านทันตกรรมจัดฟัน ป้องกันของประชาชน
  4. เพื่อผลิตบุคลากรให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษา ที่ถูกต้องและสามารถให้การรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน
ภาควิชาฯมีการเรียนสอนระดับหลังปริญญา 5 หลักสูตร ดังนี้
1. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาวิชา ทันตกรรมจัดฟัน (หลักสูตรนานาชาติ)
มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระยะเวลาในการศึกษา 2 ปี และไม่เกิน 3 ปี มีหน่วยกิตรวม 30 หน่วยกิต
รายละเอียดเพิ่มเติม
ติดต่อ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิง รชยา จินตวลากร
ประธานหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาวิชา ทันตกรรมจัดฟัน (หลักสูตรนานาชาติ)
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมจัดฟัน (นานาชาติ)
มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระยะเวลาในการศึกษา 3 ปี และไม่เกิน 5 ปี มีหน่วยกิตรวม 40 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ 1 เรื่อง โดยไม่นับหน่วยกิตแต่เทียบเท่า 12 หน่วยกิต
รายละเอียดเพิ่มเติม
ติดต่อ: รองศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์ พีรพงศ์ สันติวงศ์
ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมจัดฟัน (นานาชาติ)
3. หลักสูตรฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาทันตกรรมจัดฟัน
มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 3 ปี และไม่เกิน 5 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 111 หน่วยกิต
รายละเอียดเพิ่มเติม
ติดต่อ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิง รชยา จินตวลากร
ผู้อำนวยการหลักสูตรฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้านสาขาทันตกรรมจัดฟัน
4. หลักสูตรฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาทันตกรรมจัดฟัน (นานาชาติ)
มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 3 ปี และไม่เกิน 5 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 111 หน่วยกิต
รายละเอียดเพิ่มเติม
ติดต่อ: รองศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์ พีรพงศ์ สันติวงศ์
ผู้อำนวยการหลักสูตรฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน สาขาทันตกรรมจัดฟัน (นานาชาติ)
5. หลักสูตรฝึกอบรมผู้ชำนาญเฉพาะทางด้านคลินิก อนุสาขาทันตกรรมจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี และไม่เกิน 4 ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 18 หน่วยกิต
รายละเอียดเพิ่มเติม
ติดต่อ: รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ศุภกิจ เพียรจิตเลิศขจร
ประธานหลักสูตรฝึกอบรมผู้ชำนาญเฉพาะทางด้านคลินิก อนุสาขาทันตกรรมจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
นอกจากนี้ภาควิชาทันตกรรมจัดฟัน ได้ร่วมกับภาควิชาอื่นๆ จัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนช่างทันตกรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาช่างทันตกรรม ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี และไม่เกิน 4 ปี มีจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร คือ 77 หน่วยกิต ซึ่งการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติทางทันตกรรมจัดฟัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตช่างทันตกรรมที่มีความรู้ความสามารถ ที่จะทำงานช่าง สาขาทันตกรรมจัดฟันได้อย่างถูกต้อง เป็นบุคลากรที่สามารถให้ความช่วยเหลือในด้านการเตรียมการเรียนการสอนและการ สาธิต การปฏิบัติงานช่างทันตกรรม (Dental Technology) สาขาทันตกรรมจัดฟันแก่ทันตบุคลากรทุกประเภท ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานบริการทันตสาธารณสุขป้องกันและบำบัดโรคฟันแก่ประชาชน ร่วมกับทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อช่วยกิจการด้านวิชาการเป็นการแบ่งเบาภาระของอาจารย์ทันตแพทย์ในด้าน การสอน วิจัย และค้นคว้า และสามารถประดิษฐ์อุปกรณ์ทางทันตกรรมจัดฟัน ตลอดจนใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้รับการฝึกฝนได้โดยถูกต้อง
ภาควิชาทันตกรรมจัดฟันยังได้ร่วมจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์ ซึ่งเป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชา ผู้ช่วยทันตแพทย์ ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี โดยการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วยภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตผู้ช่วยทันตแพทย์ให้สามารถช่วยเหลือทันตแพทย์ข้างเก้าอี้ในงานด้านทันตกรรมจัดฟันได้อย่างถูกต้อง สามารถให้ ความช่วยเหลือ ในด้านการเตรียมการเรียนการสอน และการสาธิตการปฏิบัติงานช่วยเหลือทันตแพทย์ ในการให้การบริการ ผู้ป่วยสาขาทันตกรรม จัดฟันแก่ทันตบุคลากรทุกประเภท สามารถปฏิบัติงานบริการทันตสาธารณสุขป้องกันและบำบัดโรคฟันแก่ประชาชนร่วมกับทันตแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถทำหน้าที่ช่วยกิจการด้านวิชาการ เป็นการแบ่งเบาภาระ ของอาจารย์ทันตแพทย์ ในด้านการสอน วิจัย และค้นคว้าตลอดจนใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้รับการฝึกฝนได้อย่างถูกต้อง